เป็นการละเล่นที่มีในกลุ่มสังคมท้องถิ่น ในอดีตมีกีฬาพื้นบ้านต่างๆให้เล่นมากมายตั้งแต่รุ่นก่อนๆจนกระทั่งถึงรุ่น
ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ซึ่งแต่ก็น้อยกว่าในสมัยก่อนมากเพราะสมัย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามามากจึงทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยได้เล่นกันนัก
กิจกรรม การเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม
โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน
การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา
และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่น ดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของ
มนุษย์ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญญาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอัน
ทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดำวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติการละเล่น นับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่
ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู
ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด
ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม
สรรค์สร้างความเป็นกับญาติมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่ง
ชีวิต
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้ง
นี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุ
สมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนาตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจด
จำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓
: ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฏอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยทั่วไป
เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้นบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม
และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็น
ของเด็กและของผู้ใหญ่
การละเล่นพื้นเมือง คือ
การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตาม
การละเล่นแต่ละภาค ดังนี้
* การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก
* การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
* การละเล่นภาคเหนือ
* การละเล่นภาคใต้
ความแตกต่างของการละเล่นจะปรากฏใน
ลักษณะ ท่าทางการร่ายรำ คำร้อง ดนตรี และการแต่งกาย
การละเล่นเป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี
สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ การละเล่นบางอย่างของแต่ละภาคอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่
ใกล้เคียงที่มีพรมแดนติดต่อหรือใกล้เคียงกันกัน เช่น ประเทศลาว กัมพูชา พม่า จีน
อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า
“…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…”
และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น
ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลง อวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน
ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น